- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 14-20 สิงหาคม 2566
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2566
มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.375 ล้านไร่ ผลผลิต 25.761 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.977 ล้านไร่ ผลผลิต 26.632 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 423 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 0.96 ร้อยละ 3.27 และร้อยละ 2.36 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ฝนมาล่าช้า และคาดว่าปริมาณฝนจะน้อยกว่าปี 2565 โดยในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2566
จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้ขาดแคลนน้ำในด้านการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ส่งผลให้เกษตรกรบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณฝนน้อยจากการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ ยังเสี่ยงพบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น ไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น รวมทั้งปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ยังคงมีราคาสูง เกษตรกรจึงปรับลดปริมาณการใช้ ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2566 ปริมาณ 16.610 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 64.48 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2566 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 2.102 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.16 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2566 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.888 ล้านไร่ ผลผลิต 7.722 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 650 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 24.51 ร้อยละ 25.14 และร้อยละ 0.62 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ
มีมากกว่าปี 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากในช่วงเดือนกันยายน 2565 มีพายุโนรูเข้าประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนัก และปริมาณน้ำฝนสูงกว่าค่าปกติ รวมทั้งราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับเกษตรกรบางส่วนปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม โดยขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก และการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2566 โดยผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2566 ปริมาณรวม 4.728 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 61.23 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - สิงหาคม 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 7.711 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 99.86 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,662 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,305 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.50
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,696 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,044 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.91
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 33,550 บาท ราคาลดลงจากตันละ 33,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,200 บาท ราคาลดลงจากตันละ 20,850 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.12
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 926 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,549 บาท/ตัน) ราคาลดลง
จากตันละ 938 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,562 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.28 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 13 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 612 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,512 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 648 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,495 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.56 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 983 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 609 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,406 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 646 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,245 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.73 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,019 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.1499 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 ไทย
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย รายงานสถานการณ์ส่งออกข้าวหลังจากที่อินเดียประกาศห้ามส่งออกข้าวในประเทศ ส่งผลให้ราคาข้าวไทยเมื่อเดือนสิงหาคม 2566 ปรับสูงขึ้นกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน โดยราคาข้าวหอมไทยปรับสูงขึ้น 145 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน และข้าวขาว 5% ปรับสูงขึ้น 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า การส่งออกข้าวในช่วงครึ่งหลัง
ของปี 2566 สถานการณ์อาจจะมีความไม่แน่นอน จากการที่รัฐบาลอินเดียประกาศยุติส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่พันธุ์บาสมาติเพื่อเพิ่มปริมาณข้าวในประเทศ และสกัดการขึ้นราคาข้าวในประเทศที่สูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบหลายปี ทำให้ตลาดค้าข้าวโลกหยุดชะงักเพื่อรอดูสถานการณ์ เพราะหลังจากอินเดียประกาศยุติส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่พันธุ์บาสมาติ ราคาข้าวปรับสูงขึ้นทันที อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 จะสามารถส่งออกข้าวได้ประมาณ 4 ล้านตัน โดยที่ผ่านมาช่วงครึ่งปีแรกส่งออกปริมาณ 4.2 ล้านตัน รวมทั้งปีคาดว่าจะส่งออกได้ปริมาณ 8 ล้านตัน ตามเป้าหมาย แต่คงต้องติดตามสถานการณ์อื่นๆ ด้วย เช่น ปัญหาเอลนิโญที่ทำให้เกิดภัยแล้งรุนแรง โดยจะต้องติดตามผลกระทบต่อผลผลิตข้าวไทย
ซึ่งช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2566 ยังคงมีฝนตกในพื้นที่ จึงต้องรอดูปริมาณฝนตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป
เพราะขณะนี้ยังคาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งหากฝนทิ้งช่วงจะมีความเสียหายต่อผลผลิตข้าวนาปีที่จะเก็บเกี่ยวช่วงเดือนธันวาคม 2566
ขณะที่เวียดนามส่งออกข้าวในช่วงครึ่งปีแรกได้ปริมาณมาก ดังนั้นในช่วงครึ่งปีหลังอาจจะส่งออกได้น้อยลงไม่เกิน
3 ล้านตัน แต่ล่าสุดสมาคมผู้ส่งออกข้าวเวียดนามและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาวางแผน
การส่งออก และความต้องการบริโภคข้าวภายในประเทศ ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นว่าให้ส่งออกข้าวได้เหมือนเดิม โดยยังไม่มีการจำกัดปริมาณส่งออก อย่างไรก็ตาม ถ้าเวียดนามมีการระงับการส่งออกจะทำให้ราคาส่งออกข้าวปรับสูงขึ้น
1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ถึงแม้จะส่งผลดีต่อข้าวไทยก็ตาม แต่ราคาที่ปรับสูงขึ้นจะทำให้ขายข้าวได้ลำบากยิ่งขึ้น
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
2.2 จีน
สำนักข่าวซีเอ็นบีซี รายงานว่า เมื่อช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2566 จีนเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมหนักจากอิทธิพลของพายุไต้ฝุ่นทกซูรี ส่งผลให้กรุงปักกิ่งมีฝนตกหนักที่สุดในรอบ 140 ปี รวมทั้งระดับน้ำในภูมิภาคมองโกเลีย มณฑลจี๋หลิน และเฮยหลงเจียง กำลังอยู่ในขั้นวิกฤต โดยทั้ง 3 ภูมิภาคดังกล่าว สามารถผลิตข้าวได้ร้อยละ 23 ของปริมาณผลผลิตข้าวในประเทศจีน
ฟิทช์ เรทติ้งส์ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ รายงานว่า จีนซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ของโลก กำลังเผชิญกับปัญหาฝนตกหนักและมีน้ำท่วมจากอิทธิพลของพายุไต้ฝุ่นทกซูรี ในภูมิภาคทางตอนเหนือ-ตะวันออกของจีน และมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นขนุนที่กำลังเคลื่อนตัวสู่พื้นที่ทางตอนเหนือของจีนซ้ำอีกด้วย ซึ่งภาวะฝนตกหนักทำให้มีน้ำท่วมขังในไร่นาส่งผลให้ในปี 2566 จีนมีปริมาณผลผลิตข้าวลดลงได้
จากสถานการณ์ดังกล่าว อาจจะส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศจีนปรับสูงขึ้น และจีนอาจจะต้องนำเข้าข้าวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 เพื่อชดเชยผลผลิตข้าวภายในประเทศที่ลดลง นอกจากนี้อาจจะส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกปรับสูงขึ้นได้เช่นกัน
ที่มา Money & Banking Online
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.65 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.31 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.65 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.37
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 11.51 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.52 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 340.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,942.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 336.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,678.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.19 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 264.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 472.00 เซนต์ (6,615.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 481.00 เซนต์ (6,657.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.87 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 42.00 บาท
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.65 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.31 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.65 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.37
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 11.51 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.52 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 340.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,942.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 336.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,678.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.19 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 264.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 472.00 เซนต์ (6,615.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 481.00 เซนต์ (6,657.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.87 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 42.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566)คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนสิงหาคม 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.648 ล้านตัน (ร้อยละ 1.98 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.317 ล้านตัน (ร้อยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลัง และเชื้อแป้งมีคุณภาพลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.76 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.77 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.36
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.90 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.15 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.50
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.54 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.52 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.23
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 18.50 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 272 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,610 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 270 ดอลลาร์สหรัฐ (9,420 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.74
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,880 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวที่ตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,630 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนสิงหาคมจะมีประมาณ 1.389 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.250 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.383 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.249 ล้านตันของเดือนกรกฎาคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 0.43 และร้อยละ 0.40 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.38 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 5.27 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.09
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 31.06 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 30.98 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.26
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้น จากค่าเงินริงกิตมาเลเซียที่อ่อนค่าลง ทำให้มีการส่งออกเพิ่มขึ้น อีกทั้งในเดือนกรกฎาคม อินเดียมีการนำเข้าน้ำมันปาล์มสูงขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 59 อยู่ที่ 1.08 ล้านตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,779.95 ริงกิตมาเลเซีย (29.26 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 3,702.21 ริงกิตมาเลเซีย (28.72 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.10
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 943.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.57 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 942.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.09 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.16
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- อินเดีย พบว่า มีการกำหนดให้ขายน้ำตาลตามสต๊อกโควตาเพื่อจัดสรรข้อมูลน้ำตาลมีความขัดแย้งกัน กระทรวงอาหารอินเดียได้เตือนโรงงานน้ำตาลว่า ต้องดำเนินการรายงานยอดขายของโรงงานน้ำตาล และขายอยู่ที่ 90 % ของโควตา มิฉะนั้นอาจมีโอกาสได้รับการจัดสรรโควตาน้อยลงในเดือนถัดไป ด้านแหล่งข่าวในอุตสาหกรรมน้ำตาล รายงานว่า หากมาตรการเหล่านี้ยังไม่เพียงพอที่จะควบคุมราคาน้ำตาลภายในประเทศ รัฐบาลอินเดียมีแนวโน้มที่จะประกาศจำกัดจำนวนน้ำตาลคงคลังของประเทศ
- สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน รายงานว่า ประเทศจีนผลิตน้ำตาลได้ 205,000 ตัน ในเดือนกรกฎาคม 2566 ทำให้การผลิตน้ำตาลทั้งหมดในช่วงเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2566 ของจีนอยู่ที่ 8.05 ล้านตัน ลดลง 15 % โดยตัวเลขดังกล่าวรวมน้ำตาลที่แปรรูปจากการนำเข้าแล้ว
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.54 บาท ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.9
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,349.6 เซนต์ (17.64 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,418.6 เซนต์ (18.31 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.1
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 414.8 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.76 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 431.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.2
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 67.01 เซนต์ (52.53 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 66.58 เซนต์ (51.55 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.03
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.54 บาท ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.9
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,349.6 เซนต์ (17.64 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,418.6 เซนต์ (18.31 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.1
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 414.8 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.76 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 431.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.2
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 67.01 เซนต์ (52.53 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 66.58 เซนต์ (51.55 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.03
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.69 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 10.18
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 996.75 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,010.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.31 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 853.25 ดอลลาร์สหรัฐ (29.99 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 865.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.38 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,369.25 ดอลลาร์สหรัฐ (48.13 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,387.60 ดอลลาร์สหรัฐ (48.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.32 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 939.25 ดอลลาร์สหรัฐ (33.01 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 952.40 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.38 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,134.25 ดอลลาร์สหรัฐ (39.87 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,149.40 ดอลลาร์สหรัฐ (39.90 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.32 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.75 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 25.60
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.92 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.29
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,917 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,919 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,408 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,413 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.35 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 932 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 68.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.40 คิดเป็นร้อยละ 0.94 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 78.45 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.02 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 65.92 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 69.10 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.90 คิดเป็นร้อยละ 3.50 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้ของผู้บริโภคชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.77 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.52 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.56 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.27 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 367 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 365 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.55 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 348 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 354 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 377 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 427 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 399 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 410 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 407 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 371 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 434 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 467 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.40 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.26 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.16 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 97.48 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 87.31 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.79 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.96 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.86 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.60 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.81 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 68.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.40 คิดเป็นร้อยละ 0.94 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 78.45 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.02 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 65.92 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 69.10 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.90 คิดเป็นร้อยละ 3.50 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้ของผู้บริโภคชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.77 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.52 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.56 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.27 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 367 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 365 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.55 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 348 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 354 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 377 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 427 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 399 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 410 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 407 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 371 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 434 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 467 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.40 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.26 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.16 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 97.48 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 87.31 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.79 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.96 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.86 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.60 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.81 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 14 - 20 สิงหาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.16 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.05 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.86 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.73 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.13 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 104.49 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 113.42 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.93 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 106.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 114.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.10 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 14 - 20 สิงหาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.16 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.05 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.86 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.73 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.13 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 104.49 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 113.42 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.93 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 106.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 114.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.10 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา